article

Home » article
ใช้ชีวิตอยู่บนความรู้สึกไม่ดีพอ…อยู่ไหมหนอเรา?

ใช้ชีวิตอยู่บนความรู้สึกไม่ดีพอ…อยู่ไหมหนอเรา?

เรื่องโดย อังครินทร์ ปิมแปง MA,LPC เรียบเรียง และภาพประกอบโดย ณิชา หลีหเจริญกุล เนื้อหาหลักของบทความ ความรู้สึกอับอายอาจ เป็นสิ่งขับเคลื่อนให้ทำตามกฎเกณฑ์มากมายเพื่อจะได้เป็นคริสเตียนที่ดี ความอับอาย (shame) คือ ความรู้สึกที่เจ็บปวด หรือประสบการณ์ที่เราทำ หรือพลาดโอกาสได้ทำ แล้วส่งผลให้เราเชื่อว่า เราเป็นคนไร้ค่า และไม่สมควรได้รับการยอมรับ หรือเป็นที่รัก ชวนทุกคนมาฝึกการตระหนักรู้จักตนเองในเรื่องความอับอายที่ซ่อนอยู่ในจิตใจกัน เมื่อก่อนตอนที่ตัวฉันเองเริ่มเป็นคริสเตียนใหม่ๆ มักจะติดอยู่กับแนวคิดที่ว่า เราต้องทำตามกฏเกณฑ์มากมายเพื่อจะได้เป็นคริสเตียนที่ดี เพื่อพิสูจน์กับครอบครัวว่า ความเชื่อใหม่ของเรานั้นดีกว่าความเชื่อเดิมเป็นไหนๆ ขออย่าเพิ่งเข้าใจผิดไปว่า กฏเกณฑ์นั้นไม่ดี หรือการเป็นคริสเตียนไม่ต้องทำตามกฎ หรือหลักข้อปฏิบัติต่างๆ  แต่กฏเกณฑ์ที่กำลังพูดถึงในทีนี้ คือ การพยายามทำตามมาตรฐานต่างๆ โดยไม่มีความเข้าใจ มันเลยกลายเป็นความกดดันที่จะต้องทำตามมาตรฐานสูงๆ เพื่อให้ตัวเองเป็นที่ยอมรับ ไม่ใช่เพียงแค่เป็นที่ยอมรับในสายตาคนอื่นนะ แต่ในสายตาของตัวเองนี่แหละ!!! ทำไมหนอ การยอมรับ การเห็นใจ การเข้าใจความอ่อนแอ และการอ่อนโยนกับตัวเองมันช่างยากเย็นซะเหลือเกิน เราเลยสร้างกฎเกณฑ์ให้ตัวเองว่า จะต้องทำนั่น ทำนี่ให้ได้ เช่น พยายามตื่นมาเฝ้าเดี่ยวทุกเช้า อธิษฐานทุกวัน นมัสการ ไปเข้ากลุ่มเซลทุกอาทิตย์ และอื่นๆ อีกมากมาย หากทำตามรายการเหล่านี้ไม่ได้ ก็มักจะรู้สึกแย่กับตัวเองมากๆ แต่หากเราทำได้ก็จะรู้สึกดีกับตัวเอง ...

วันนี้ อารมณ์ไหน?

วันนี้ อารมณ์ไหน?

เรื่องโดย อังครินทร์ ปิมแปง และ ณิชา หลีหเจริญกุล ภาพโดย ณิชา หลีหเจริญกุล เราก็คงไม่ต่างกับหลายๆ คนที่โตมาในครอบครัวที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของอารมณ์และความรู้สึก จำได้ว่า เมื่อตอนที่ยังเป็นเด็ก ถ้าเราโดนแกล้ง เสียใจ หรือไม่ชอบใจอะไรซักอย่าง แล้วเราร้องไห้ แม่จะบอกให้หยุด ไม่ต้องร้องไห้แล้ว หรือบางทีถ้าเรายังไม่หยุดเราเองก็โดนดุต่อว่าซ้ำเข้าไปอีก ความเสียใจแรกยังไม่ได้รับการปลอบเลย หนำซ้ำยังโดนทำร้ายจิตใจเพิ่มเข้าไปอีก ทีนี้แหละเรายิ่งร้อง ตะเบ็งเสียงดังจนต้องใช้เวลาและพลังงานพักใหญ่เลยกว่าจะสงบลงได้ พอโตขึ้นมาซักหน่อยเมื่อเรามีเรื่องรบกวนใจหรือเสียใจ เราเองก็จัดการกับมันโดยการพยายามกลบมันอยู่ข้างใน หรือการหาอะไรอย่างอื่นมาเบี่ยงเบนความสนใจออกไป ดีบ้าง พังบ้างสลับกันไป เราไม่ได้จะมาตำหนิผู้ใหญ่หรอกที่เขาไม่ช่วยแถมยังซ้ำเติม เพราะพอเติบโตขึ้น ก็ เข้าใจอะไรหลายๆ อย่างมากขึ้น และเมื่อมองย้อนกลับไป ผู้ใหญ่เหล่านั้นเขาเองก็คงถูกปฏิบัติมาแบบนี้เหมือนกัน มันเลยกลายเป็นรูปแบบวิธีที่คุ้นเคย ทำให้เราเข้าใจความซับซ้อนของชีวิตมนุษย์เพิ่มขึ้น วันที่เราอยู่ในยุคสมัยที่เรื่องของสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว เป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย และเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึกก็เป็นปัจจัยพื้นฐานของสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตที่บริบูรณ์ เรามองว่า เรื่องของสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่ป้องกันดีกว่ามาแก้ไขภายหลังเป็นไหนๆ Self Check เลยอยากจะชักชวนกันมาเรียนรู้ สำรวจ และรู้จักตัวเองไปด้วยกัน โดยครั้งนี้เราจะมาเสนอเนื้อหาเรื่องอารมณ์ หรือ Emotions “เป็นผู้ชายห้ามร้องไห้” “ถ้าไม่อยากให้ใครเห็นว่า เธอเป็นฝ่ายแพ้ ...

“มองมุมใหม่ เรื่องฆ่าตัวตาย” ตอนที่ 1

“มองมุมใหม่ เรื่องฆ่าตัวตาย” ตอนที่ 1

CCAT Chat & Share ซีรี่ย์ "มองมุมใหม่ เรื่องฆ่าตัวตาย" ตอนที่ 1 “การฆ่าตัวตายไม่ใช่การเรียกร้องความสนใจ แต่เป็นสัญญาณขอความช่วยเหลือ” โดย นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษา อังครินทร์ ปิมแปง และ วรรัก สันทัดรบ ฟังวีดิโอคลิ๊กเลย ... https://web.facebook.com/ccat.thailand/videos/895457867620704 มีความเข้าใจว่า คนที่ฆ่าตัวตายมีเจตนา "เรียกร้องความสนใจ ประชดประชัน เป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัว" เพราะเหตุนี้ ทำให้เรื่องนี้ถูกตีตราและถูกละเลยจากสังคม ถ้าเราลองเปิดใจ แล้วปรับความเข้าใจ ลองจินตนการดูใหม่ว่า การที่ใครคนหนึ่งมีความคิดอยากฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง เขากำลังเผชิญกับอะไรอยู่? ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะหลายความเจ็บปวด ทำให้มองไม่เห็นทางออก การเลือกจบชีวิตก็เพื่อหลุดจากความเจ็บปวดที่เผชิญอยู่นั้นก็อาจเกิดขึ้นได้ บางทีสิ่งที่เราสามารถหยิบยื่นให้ อาจไม่ใช่การปล่อยผ่าน แต่คือการให้ความช่วยเหลือ ส่งต่อ เคียงข้าง และเข้าใจ เมื่อเรารับฟังด้วยการเปิดใจ เข้าไปนั่งในใจเขา ทำความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจต่อกัน การเปิดเผยเรื่องความคิดฆ่าตัวตายอาจไม่ใช่เรื่องที่ทำเพื่อเรียกร้องความสนใจ ประชดประชัน หรือเป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัวก็เป็นได้

คำพูดที่ไม่ควรพูดกับคนที่ส่งสัญญาณคิดฆ่าตัวตาย

คำพูดที่ไม่ควรพูดกับคนที่ส่งสัญญาณคิดฆ่าตัวตาย

มาถึง Ep. สุดท้ายของเนื้อหาเรื่องการฆ่าตัวตาย ในตอนก่อนหน้านี้เราพอจะรับรู้แล้วว่า คนที่มีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง หรือถึงขั้นอยากฆ่าตัวตายนั้น จิตใจภายในของเขามีความเจ็บปวด มองไม่เห็นหนทาง และเป้าหมายในการมีชีวิตต่อ การมองไม่เห็นค่าของตนเอง ความกลัวต่อสายตา และการตัดสินจากคนรอบข้างก็กดเขาไว้อย่างหนักหน่วง สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เขาไม่กล้าที่จะเปิดใจ เล่าเรื่องที่หนักอึ้งให้ใครต่อใครฟัง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เขาไม่ต้องการกำลังใจ ความเข้าใจ ความห่วงใยจากคนรอบข้าง ก้นบึ้งในใจของเขานั้น ในวันที่เขาก็รู้สึกไม่ปลอดภัยกับตัวเอง เขาอาจกำลังรอใครคนหนึ่งที่จะมาช่วยแบ่งเบาความหนักอึ้งนี้ หรือมองเห็นเขาที่กำลังจมดิ่ง แล้วมีใครช่วยเขาจากภาวะเหล่านี้ก็ได้ แต่แน่นอนว่า เราเองในฐานะคนใกล้ตัวก็คงทำตัวไม่ถูก ไม่รู้จะรับมือยังไง ไม่รู้จะพูดอะไร ไม่รู้จะอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกหนักหน่วงของเขาแบบนี้ยังไง มันเลยทำให้ บ่อยครั้งที่เราทำบางอย่างด้วยความตั้งใจดี อยากช่วยเหลือ อยากให้เขาคิดได้ อยากให้เขาปล่อยวาง และเลิกคิดฆ่าตัวตาย แต่...มันดูจะไม่ได้ผล และเหมือนมันไม่ช่วยอะไร จนเราถอดใจที่จะคิดช่วยเขา เป็นไปได้ไหมว่า การกระทำ หรือคำพูดบางอย่างที่แสดงออกไปนั้น ขาดความระมัดระวัง ขาดความตระหนักและความเข้าใจ แต่กลับคาดหวังให้เขาทำตามสิ่งที่เราหยิบยื่นให้ด้วยความหวังดี ดันกลับได้ผลลัพธ์ที่แย่ลงกว่าเดิม??? เพราะเจตนาดีต้องมาพร้อมความเข้าใจและการกระทำที่รอบคอบ มีคำพูดมากมายที่ผู้พูด พูดออกไปเพราะอยากจะเรียกสติของผู้ที่คิดฆ่าตัวตาย หรือพูดออกไปเพื่อพยายามจะเห็นใจ เข้าใจ แต่มันอาจกลายเป็นคำพูดที่ยิ่งกดดัน ซ้ำเติม และกระตุ้นให้เขาต้องจมดิ่งในความคิดทำร้ายตัวเอง หรือกระทั่งการฆ่าตัวตาย โพสนี้จึงขอยกตัวอย่างคำพูดที่ควรหลีกเลี่ยง... 1. ...