Posts by: CCAT_Admin

วันนี้ อารมณ์ไหน?

วันนี้ อารมณ์ไหน?

เรื่องโดย อังครินทร์ ปิมแปง และ ณิชา หลีหเจริญกุล ภาพโดย ณิชา หลีหเจริญกุล เราก็คงไม่ต่างกับหลายๆ คนที่โตมาในครอบครัวที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของอารมณ์และความรู้สึก จำได้ว่า เมื่อตอนที่ยังเป็นเด็ก ถ้าเราโดนแกล้ง เสียใจ หรือไม่ชอบใจอะไรซักอย่าง แล้วเราร้องไห้ แม่จะบอกให้หยุด ไม่ต้องร้องไห้แล้ว หรือบางทีถ้าเรายังไม่หยุดเราเองก็โดนดุต่อว่าซ้ำเข้าไปอีก ความเสียใจแรกยังไม่ได้รับการปลอบเลย หนำซ้ำยังโดนทำร้ายจิตใจเพิ่มเข้าไปอีก ทีนี้แหละเรายิ่งร้อง ตะเบ็งเสียงดังจนต้องใช้เวลาและพลังงานพักใหญ่เลยกว่าจะสงบลงได้ พอโตขึ้นมาซักหน่อยเมื่อเรามีเรื่องรบกวนใจหรือเสียใจ เราเองก็จัดการกับมันโดยการพยายามกลบมันอยู่ข้างใน หรือการหาอะไรอย่างอื่นมาเบี่ยงเบนความสนใจออกไป ดีบ้าง พังบ้างสลับกันไป เราไม่ได้จะมาตำหนิผู้ใหญ่หรอกที่เขาไม่ช่วยแถมยังซ้ำเติม เพราะพอเติบโตขึ้น ก็ เข้าใจอะไรหลายๆ อย่างมากขึ้น และเมื่อมองย้อนกลับไป ผู้ใหญ่เหล่านั้นเขาเองก็คงถูกปฏิบัติมาแบบนี้เหมือนกัน มันเลยกลายเป็นรูปแบบวิธีที่คุ้นเคย ทำให้เราเข้าใจความซับซ้อนของชีวิตมนุษย์เพิ่มขึ้น วันที่เราอยู่ในยุคสมัยที่เรื่องของสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว เป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย และเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึกก็เป็นปัจจัยพื้นฐานของสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตที่บริบูรณ์ เรามองว่า เรื่องของสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่ป้องกันดีกว่ามาแก้ไขภายหลังเป็นไหนๆ Self Check เลยอยากจะชักชวนกันมาเรียนรู้ สำรวจ และรู้จักตัวเองไปด้วยกัน โดยครั้งนี้เราจะมาเสนอเนื้อหาเรื่องอารมณ์ หรือ Emotions “เป็นผู้ชายห้ามร้องไห้” “ถ้าไม่อยากให้ใครเห็นว่า เธอเป็นฝ่ายแพ้ ...

ร่วมพบปะสมาชิกในเครือข่ายสุขใจ

ร่วมพบปะสมาชิกในเครือข่ายสุขใจ

ขอเชิญร่วมพบปะสมาชิกในเครือข่ายสุขใจ (Sukjai Network by CCAT) เพื่อประสานงานและเรียนรู้ร่วมกันในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพจิตในคริสตจักรในปี 2564 นี้ค่ะ **หมายเหตุ: รายละเอียดและกิจกรรมในแต่ละครั้งจะประชาสัมพันธ์ทางเพจของสมาคมและเว็บไซต์นะคะ

Sukjai Careline

Sukjai Careline

1-27 กุมภาพันธ์ 2564 รับฟังและให้คำปรึกษาโดยนักจิตวิทยา และผู้ให้คำปรึกษาคริสเตียน อ่านเพิ่มเติม

“มองมุมใหม่ เรื่องฆ่าตัวตาย” ตอนที่ 1

“มองมุมใหม่ เรื่องฆ่าตัวตาย” ตอนที่ 1

CCAT Chat & Share ซีรี่ย์ "มองมุมใหม่ เรื่องฆ่าตัวตาย" ตอนที่ 1 “การฆ่าตัวตายไม่ใช่การเรียกร้องความสนใจ แต่เป็นสัญญาณขอความช่วยเหลือ” โดย นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษา อังครินทร์ ปิมแปง และ วรรัก สันทัดรบ ฟังวีดิโอคลิ๊กเลย ... https://web.facebook.com/ccat.thailand/videos/895457867620704 มีความเข้าใจว่า คนที่ฆ่าตัวตายมีเจตนา "เรียกร้องความสนใจ ประชดประชัน เป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัว" เพราะเหตุนี้ ทำให้เรื่องนี้ถูกตีตราและถูกละเลยจากสังคม ถ้าเราลองเปิดใจ แล้วปรับความเข้าใจ ลองจินตนการดูใหม่ว่า การที่ใครคนหนึ่งมีความคิดอยากฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง เขากำลังเผชิญกับอะไรอยู่? ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะหลายความเจ็บปวด ทำให้มองไม่เห็นทางออก การเลือกจบชีวิตก็เพื่อหลุดจากความเจ็บปวดที่เผชิญอยู่นั้นก็อาจเกิดขึ้นได้ บางทีสิ่งที่เราสามารถหยิบยื่นให้ อาจไม่ใช่การปล่อยผ่าน แต่คือการให้ความช่วยเหลือ ส่งต่อ เคียงข้าง และเข้าใจ เมื่อเรารับฟังด้วยการเปิดใจ เข้าไปนั่งในใจเขา ทำความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจต่อกัน การเปิดเผยเรื่องความคิดฆ่าตัวตายอาจไม่ใช่เรื่องที่ทำเพื่อเรียกร้องความสนใจ ประชดประชัน หรือเป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัวก็เป็นได้

คำพูดที่ไม่ควรพูดกับคนที่ส่งสัญญาณคิดฆ่าตัวตาย

คำพูดที่ไม่ควรพูดกับคนที่ส่งสัญญาณคิดฆ่าตัวตาย

มาถึง Ep. สุดท้ายของเนื้อหาเรื่องการฆ่าตัวตาย ในตอนก่อนหน้านี้เราพอจะรับรู้แล้วว่า คนที่มีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง หรือถึงขั้นอยากฆ่าตัวตายนั้น จิตใจภายในของเขามีความเจ็บปวด มองไม่เห็นหนทาง และเป้าหมายในการมีชีวิตต่อ การมองไม่เห็นค่าของตนเอง ความกลัวต่อสายตา และการตัดสินจากคนรอบข้างก็กดเขาไว้อย่างหนักหน่วง สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เขาไม่กล้าที่จะเปิดใจ เล่าเรื่องที่หนักอึ้งให้ใครต่อใครฟัง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เขาไม่ต้องการกำลังใจ ความเข้าใจ ความห่วงใยจากคนรอบข้าง ก้นบึ้งในใจของเขานั้น ในวันที่เขาก็รู้สึกไม่ปลอดภัยกับตัวเอง เขาอาจกำลังรอใครคนหนึ่งที่จะมาช่วยแบ่งเบาความหนักอึ้งนี้ หรือมองเห็นเขาที่กำลังจมดิ่ง แล้วมีใครช่วยเขาจากภาวะเหล่านี้ก็ได้ แต่แน่นอนว่า เราเองในฐานะคนใกล้ตัวก็คงทำตัวไม่ถูก ไม่รู้จะรับมือยังไง ไม่รู้จะพูดอะไร ไม่รู้จะอยู่กับอารมณ์ความรู้สึกหนักหน่วงของเขาแบบนี้ยังไง มันเลยทำให้ บ่อยครั้งที่เราทำบางอย่างด้วยความตั้งใจดี อยากช่วยเหลือ อยากให้เขาคิดได้ อยากให้เขาปล่อยวาง และเลิกคิดฆ่าตัวตาย แต่...มันดูจะไม่ได้ผล และเหมือนมันไม่ช่วยอะไร จนเราถอดใจที่จะคิดช่วยเขา เป็นไปได้ไหมว่า การกระทำ หรือคำพูดบางอย่างที่แสดงออกไปนั้น ขาดความระมัดระวัง ขาดความตระหนักและความเข้าใจ แต่กลับคาดหวังให้เขาทำตามสิ่งที่เราหยิบยื่นให้ด้วยความหวังดี ดันกลับได้ผลลัพธ์ที่แย่ลงกว่าเดิม??? เพราะเจตนาดีต้องมาพร้อมความเข้าใจและการกระทำที่รอบคอบ มีคำพูดมากมายที่ผู้พูด พูดออกไปเพราะอยากจะเรียกสติของผู้ที่คิดฆ่าตัวตาย หรือพูดออกไปเพื่อพยายามจะเห็นใจ เข้าใจ แต่มันอาจกลายเป็นคำพูดที่ยิ่งกดดัน ซ้ำเติม และกระตุ้นให้เขาต้องจมดิ่งในความคิดทำร้ายตัวเอง หรือกระทั่งการฆ่าตัวตาย โพสนี้จึงขอยกตัวอย่างคำพูดที่ควรหลีกเลี่ยง... 1. ...